วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โพแทสเซียมคลอเรต สารเร่งให้ลำไยออกดอก

         The Sun new ( ทางบริษัทได้เปลี่ยนเวปไซด์ใหม่เชิญติดตามได้ที่นี่คลิก )     เป็นสารสารโพแทสเซียมคลอเรตนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้สำหรับเร่งให้ลำไยออกดอกโดยเฉพาะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากของเกษตรกรที่ปลูกลำไยทั้งในประเทศจีน เวียดนามและไต้หวัน โดยเฉพาะจีนถือเป็นประเทศที่ผลิตลำไยมากที่สุดในโลก   โดยสัดส่วนของเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตลำไยของจีนในตลาดโลก   คิดเป็นร้อยละ 70 ด้านการผลิตลำไยของจีนปริมาณการผลิตในแต่ละปีจะขึ้นอยู่กับ  สภาพภูมิอากาศ  ส่วนใหญ่อยู่ในเขตมณฑล กวางตุ้ง กวางซี ฟูเจี้ยน และไหนาน สามารถเร่งให้ลำไย........ออกดอกได้เป็นที่พอใจ  จึงอยากแนะนำ ให้เกษตรกรไทยชาวสวนลำไยใช้  เพราะไม่จำเป็นต้องเสี่ยงกับ  การติดบ้าง ไม่ติดบ้างของลำไย เพราะผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการยอมรับแล้วว่า  สามารถใช้ได้ผลกับการเร่งให้ลำไยออกดอกอย่างแน่นอน 100 เปอร์เซนต์
Appearance : Pink Powder (ผงสีชมพู)
Packing : In pp bags of weight 25 kg (กระสอบ 25 กก)
Premium Grade : Intensity formulas make forcing
stage of the Longan tree the succeed
Specifications  :1.1 Potassium Chlorate Pink Powder
                         1.2 Purity 99.9 min.
Applications : used for forcing flowering Longan
Formulas : KCLO3
UN No:1485: Hazard Class:5.1
13-7-2555-10-43-00-1

สารโพแทสเซี่ยมคลอเรตใช้ราดทางดิน

สารราด2








ใช้พ่นทางใบ
สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายติดต่อ
โทร -089-5599056
โทร.- 083-4805364
สนใจอยากแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น หรือ ดูข้อมูลของผู้เคยใช้มาแล้วเชิญ----------->>>> คลิกที่นี่

facebook :  กำลังปรับปรุง

 สินค้ารุ่นใหม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตใช้ราดทางดินมีจำหน่ายที่นี่




เรียน ลูกค้าทุกท่าน
            เนื่องจาก สารโพแทสเซี่ยมคลอเรตยี่ห้อ The Sun new  ซึ่งเป็นสินค้าของบริษัท The Sun new ได้นำเข้ามาจากประเทศจีนและจำหน่ายในประเทศไทยมาหลายปีแล้ว และเป็นที่นิยมใช้กันมากของลูกค้าชาวสวนลำไยในเขตภาคเหนือ ปัจจุบันทางบริษัทได้ทำการ เปลี่ยนรูปแบบโลโก้และชื่อ เป็น logan ซื่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาสินค้าเพื่อการส่งออกของ บริษัทฯ และเพิ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่คือบริษัท logan จึงเรียนลูกค้าให้ทราบว่าหากลูกค้าเห็นสินค้าที่วางขายเป็นยี่ห้อและโลโก้ ตามรูปภาพที่แสดงตามรูปข้างล่างนี้ ให้ลูกค้าเข้าใจว่าเป็นสินค้าตัวเดียวกันกับ The Sun new
           ซึ่งสินค้าตัวใหม่นี้เปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบการบรรจุหีบห่อและชื่อโลโก้เท่า นั้น แต่คุณภาพของเนื้อสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตยังเป็นตัวเดียวกันกับ The Sun new จึงเรียนมาเพื่อให้ลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายทราบโดยทั่วกัน


Add Friend -สนใจสินค้าของเรากดเพิ่มเพื่อนเลยครับหรือ โทรมาที่ 089-5599-056 เทวินการเกษตร

 หากท่านมีความสงสัยประการใดโปรดติดต่อ ปรับปรุงชั่วคราว  ได้ตลอดเวลา


สนใจสินค้าตัวอื่นๆของเรา>>>>>> กด คลิก ที่นี่!!!
 
เกี่ยวกับสารโพแทสเซียมคลอเรตที่ใช้ในการราดต้นลำไย    เพื่อเป็นตัวเร่งให้ลำไยออกดอกออกผลซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่า หากจะให้ลำไยออกดอกออกผลให้เป็นไปตามธรรมชาตินั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก สาเหตุนั้นก็มาจากหลายสาเหตุ เช่นสภาพภูมิอากาศได้เปลี่ยนแปลงไป ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสมบูรณ์ของต้นลำไย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีการค้นพบว่าได้มีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเป็นตัวเร่งให้ลำไย สามารถออกดอกออกผลได้

ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต
                   อายุของใบลำไย ระยะใบที่เหมาะสมต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรมีการแตกใบอ่อนประมาณ 2 รุ่นหรือมีอายุใบลำไยอย่างน้อย 3 สัปดาห์ขึ้นไป

                    ฤดูกาลให้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรกำหนดปริมาณสารให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่นช่วงฤดูหนาวควรให้สารราดลำไยในอัตราต่ำ ช่วงฤดูร้อนอัตราปานกลางและฤดูฝนให้อัตราสูง นอกจากนี้ไม่ควรให้สารราดลำไย กับต้นลำไยที่มีอายุมากในฤดูฝนเพราะจะตอบสนองไม่ดีเท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย

                    แสง ต้นลำไยที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพครึ้มฟ้าครึ้มฝน และควรหลีกเลี่ยงการใส่สารราดลำไยในช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือช่วงที่ฝนตกชุก

การปฏิบัติในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน
                   โดย การหว่านสารราดลำไยภายในทรงพุ่มแล้วให้น้ำตาม หรืออาจทำเป็นร่องรอบทรงพุ่มแล้วให้ สารโพแทสเซียมในร่องแล้วให้น้ำตาม หรือใช้สารละลายน้ำแล้วราดสารในทรงพุ่มก็ได้ (ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับอายุและทรงพุ่มของต้นลำไย)
การปฏิบัติในการพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ
                    ใช้ความเข้มข้นเท่ากันประมาณ 3-4 ขีดต่อน้ำ 200 ลิตรโดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่มควรเน้นบริเวณปลายยอดสามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่ในช่วงหน้าฝนถ้ามีฝนตกควรมีการพ่นสาร 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน การพ่นสารในช่วงก่อนฤดูกาล หรือให้ลำไยออกในฤดูกาลหรือหลังฤดูกาลไม่เกิน 2 เดือนจะทำให้ต้นลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกสูง

ทำไมการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างเพราะอะไร
                     เป็นคำถามที่ค้างคาใจเกษตรกรหลายๆคน ได้มีการศึกษาถึงสาเหตุเหล่านี้โดยนักวิชาการพบว่า การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไยได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง      มีสาเหตุหลายประการดังต่อไปนี้
                    1. แร่ธาตุและสารแหล่งอาหารที่จำเป็นสำหรับลำไยที่จะใช้ในการออกดอกของลำไย มีปริมาณน้อยมากหรือไม่มีเลยและระบบรากถูกทำลาย    อันเนื่องมาจากการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตติดต่อกันมาหลายครั้ง การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตในแต่ละครั้งจะไปบังคับให้ลำไย  เร่งดูดสารอาหารขึ้นไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นลำไย เพื่อใช้ในการออกดอก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าลำไยที่ไม่เคยใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตเลย พอใส่ในปีแรกๆจะทำให้ลำไยออกดอกออกผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากในดินมีธาตุอาหารครบสมบูรณ์ และพอผ่านไปใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตครั้งที่3ที่4  ลำไยเริ่มไม่ได้ผลเนื่องจากแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นของต้นลำไยในดินเริ่มหมดไป และระบบรากก็เริ่มถูกทำลาย พอใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตครั้งที่5เป็นต้นไป   ลำไยจะเริ่มตายถ้าไม่ได้บำรุ่งต้นบำรุงรากหรือพักการใส่สารโพแทสเซียมคลอเรต

                    2. สารโพแทสเซียมคลอเรตที่เกษตรกรซื้อหามาใช้นั้น เป็นสารที่ผสมขึ้นมาเองโดยเกษตรกรด้วยกันเองหรือพ่อค้าหัวใส โดยเอาสารโพแทสเซียมคลอเรตผสมด้วยปุ๋ยสูตรต่างๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักและปริมาณแล้วนำมาขาย โดยการไปรับซื้อถังบรรจุสารโพแทสเซียมคลอเรตเก่าจากเกษตรกร ในราคาถังเปล่าใบละ 200-300 บาท  แล้วนำมาบรรจุใหม่เพื่อขายให้เกษตรกรด้วยกันเองในราคาถูก ทำให้ปริมาณของสารโพแทสเซียมคลอเรตมีปริมาณน้อย เมื่อนำไปใช้กับลำไยจึงทำให้ลำไยไม่ได้ผล

                    3. ความพร้อมของต้นลำไย เนื่องจากเกษตรกรบางรายไม่เข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงต้นลำไยแต่ใส่สารโพแทสเซียมคลอเรตต่อเนื่อง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้ลำไยขาดการบำรุงต้น บำรุงดิน และบำรุงราก(ต้นลำไยไม่สมบูรณ์) ลำไยจึงไม่มีสารอาหารที่เพียงพอที่จะใช้สำหรับการออกดอก

                    เพื่อเป็นเป็นการให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้มีความมั่นใจในสารราดลำไยจึงขอเสนอ The Sun new ซึงเป็นสารโพแทสเซียมคลอเรต ที่มีความเข้มข้นสูง บรรจุเฉพาะกระสอบใหม่เท่านั้น ไม่มีการรับซื้อกระสอบหรือถังบรรจุคืนเพื่อนำมาบรรจุใหม่เด็ดขาด ฉะนั้นจงมั่นใจได้ 100 เปอร์เซนต์ว่าสินค้าภายใต้มาตราฐาน The Sun new เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
ข้อแนะนำในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต
                   ใช้วิธีคำนวณทรงพุ่มของต้นลำไยเป็นหลัก โดยทรงพุ่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรจะใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตประมาณ 4 ขีดในการราดบริเวณลำต้น ถ้าทรงพุ่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตรก็จะใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตประมาณ 8 ขีด ( การราดสารนั้นจะผสมน้ำเล็กน้อยแล้วหว่าน หรือจะผสมน้ำแล้วพ่นบริเวณลำต้นก็ได้ ) จากนั้นอีกประมาณ 3 – 7 วันจะเอาสารโพแทสเซียมคลอเรตผสมกับน้ำคนให้เข้ากัน โดยเฉลี่ย 3 ขีดต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นทางใบจนใบเปียกชุ่ม หลังจากนั้นรักษาความชื้นโดยให้น้ำ ทุก 3 – 5 วัน เพื่อให้รากลำไยดูดสารเข้าสู่ต้นให้มากที่สุด ประมาณ 3 – 5 สัปดาห์ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก ส่วนโรคและแมลงสามารถศึกษาขอมูลได้จากที่นี่------>>> คลิก  ปฏิทินการให้ปุ๋ยและการดูแลลำไยศึกษาข้อมูลได้จากที่นี่------->>> คลิก
บทความข้างล่างนี้ผมอ่านแล้วมีประโยชน์เลยอยากให้อ่านกันครับ
การให้ปุ๋ยลำไย

การใช้ปุ๋ยกับต้นลำไยของเกษตรกรที่ผ่านมา เกษตรกรชาวสวนลำไยจะอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติหรือสอบถามจากเพื่อนบ้านที่มีต้นลำไยสมบูรณ์ นอกจากนี้มีชาวสวนจำนวนไม่น้อยที่มีการใส่ปุ๋ยลำไยตามความเชื่อ เช่นเชื่อว่าการให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูงจะช่วยให้ต้นไม้ออกดอกได้ดี ในกรณีการจัดการธาตุอาหารที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อสมดุลของธาตุอาหารในดินไม่เหมาะสม ทำให้ชาวสวนเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินและธาตุอาหารจะช่วยให้การให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยลดลง
การให้ปุ๋ยเคมีสำหรับต้นลำไยในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต
การให้ปุ๋ยลำไยที่จะแนะนำต่อไปนี้จะอาศัยข้อมูลจากการวิจัย โดยอาศัยค่าปริมาณธาตุอาหารที่ใช้ไปในระหว่างการเจริญเติบโต ได้แก่การแตกใบแต่ละครั้งและที่สูญเสียไปกับผลผลิตเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ย เพราะเป็นการให้ปุ๋ยโดยอาศัยค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารที่ลำไยใช้ในระหว่างการแตกช่อใบและที่ติดไปกับผลผลิต ซึ่งคำนวณเป็นปริมาณปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตรที่ควรให้กับลำไยในระหว่างการแตกช่อใบและให้ผลผลิตดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. การให้ปุ๋ยลำไยหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตถึงระยะก่อนออกดอก ธาตุอาหารที่ลำไยต้องการมากในช่วงนี้คือ ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ดังนั้นสูตรปุ๋ยที่ใช้จะต้องเน้นหลักการให้ทั้งสองธาตุดังกล่าวเพื่อให้ง่ายต่อการใช้จึงขอกำหนดสูตรปุ๋ยที่เกษตรกรใช้กันทั่วไปคือสูตร 46-0-0, 15-15-15 และ 0-0-60 ส่วนอัตราการใช้นี้ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มดังแสดงในตารางที่ 1โดยอาจให้ทุกครั้งที่มีการแตกใบส่วนปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ควรใส่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้อัตรา 10 – 30 กิโลกรัมต่อต้น





ตารางที่ 1 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในแต่ละครั้งของการแตกใบ (กรัมต่อต้น)
เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร)                                สูตรปุ๋ย
                                              46 – 0 – 0         15 – 15 – 15         0 – 0 - 60
              1                                    16                       12                     9
              2                                    32                       23                     15
              3                                    75                       53                     40
              4                                   150                     100                    80
              5                                   260                     180                   140
              6                                   430                     290                   230
              7                                   650                     450                   370
2. การให้ปุ๋ยลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว อัตราการให้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตต่อต้น เช่น ถ้าติดผลมากก็ใส่มากติดผลน้อยก็ลดปริมาณการใช้ดังแสดงในตารางที่ 2 โดยแบ่งใส่ 2 – 3 ครั้ง ในปริมาณเท่า ๆ กัน
ตารางที่ 2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว (กรัมต่อต้น)
ปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะได้ (กก./ต้น)                              สูตรปุ๋ย
                                                         46 – 0 – 0      15 – 15 – 15      0 – 0 - 60
                 50                                         450                  480                440
                100                                        900                  960                880
                200                                       1800                1920              1800
เอกสารอ้างอิง
ยุทธนา เขาสุเมรุ, ชิติ ศรีตนทิพย์, สันติ ช่างเจรจา และสมชาย องค์ประเสริฐ .2548. การให้ปุ๋ยลำไย
หน้า 21-26.ใน ลำไยคุณภาพ. วันแม่โจ้: ศาสตร์แห่งลำไย 25-27 พฤศจิกายน 2548. เชียงใหม่.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.56 หน้า.
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Add Friend -สนใจสินค้าของเรากดเพิ่มเพื่อนเลยครับหรือ โทรมาที่ 089-5599-056 เทวินการเกษตร